top of page

Drink Coffee & Be Creative

"กาแฟ" กับ "ความคิดสร้างสรร"


Coffee Cupping, Coffee Flavor, Creativity, Caffeine, Coffee Science, Neuroscience

รู้มั้ยครับว่า ตลาดหุ้น📈ถูกพัฒนาขึ้นในร้านกาแฟ☕️...


เรื่องจริงครับ ไม่ได้โม้ หลักฐานแรกของการซื้อขายหุ้นแบบเป็นระบบเกิดขึ้นครั้งแรกในร้านกาแฟที่ชื่อว่า Jonathan’s Coffee House ในปี 1698 ซึ่งกิจกรรมการซื้อขายหุ้นเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง(ในร้านกาแฟ) มาเรื่อย ๆ จนสุดท้าย Jonathan’s Coffee House ก็กลายมาเป็น London Stock Exchange หรือ ตลาดหลักทรัพย์แห่งลอนดอนในปัจจุบัน (ตอนนี้ยังมีกาแฟขายอยู่รึเปล่านะ?🤔)


ZMITH เอาเรื่องนี้มาเล่าทำไม? แค่อยากเล่าเกร็ดประวัติศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับกาแฟเหรอ? โน่ว ๆ มันยังมีอะไรมากกว่านั้นเยอะ😁


“ตลาดหลักทรัพย์📈” หรือ “การซื้อขายหุ้น” ในปัจจุบันอาจเป็นเรื่องปกติธรรมดาที่เห็นกันมาตั้งแต่รู้ความ แต่เอาเข้าจริง ๆ มันเป็นเรื่องที่ใหม่ และ “สร้างสรร” มาก ๆ ในยุคนั้น เพราะการ “ซื้อขายความเป็นเจ้าของกิจการ” สำหรับสมัยนั้นอาจจะประหลาดพอ ๆ กับการ “ซื้อขายความเป็นแฟน” สำหรับสมัยนี้ก็ได้ (หรือมีใครทำอยู่?😅) นั่นหมายความว่ามันเป็นสิ่งที่เกิดจาก “ความคิดสร้างสรร💡” ในระดับที่ไม่ธรรมดา


ซึ่ง “กาแฟ☕️” กับ “ความคิดสร้างสรร💡”​นั้นไม่ใช่สิ่งที่ห่างไกลกันแต่อย่างใด เพราะ “ร้านกาแฟ” หรือ Coffee House นั้นขึ้นชื่อว่าเป็นสถานที่รวมตัวของกลุ่ม “ปัญญาชน👩🏻‍🎓” มานานแล้ว มีการบันทึกไว้ตั้งแต่สมัยศรรตวรรตที่ 16 (ประมาณ 500 ปีที่แล้ว) ว่าเหล่ากวี📜 นักดนตรี🎶 นักคิด🧠 นักเขียน📝 ในจักรวรรดิออตโตมัน (ประเทศตุรกี🇹🇷ในปัจจุบัน) นั้นมักจะไปรวมตัวแลกเปลี่ยนความคิด และพูดคุยกันในร้านกาแฟ


ทำไมไม่รวมตัวกันที่ร้านอาหาร สวนสาธารณะ หรือร้านเหล้า(เพราะชาวออตโตมันเป็นมุสลิมไง😅) ทำไมต้องมารวมตัวกันที่ร้านกาแฟเหนอ? เหตุผลอาจจะเป็นเพราะ กาแฟมีส่วนช่วยให้เกิดความคิดสร้างสรรก็ได้... มันต้องมีเหตุผลที่เหล่า Creatives ในอดีต(ในปัจจุบันก็ด้วย) มักจะมีความหลงไหลในกาแฟ วันนี้ ZMITH จะมาเล่าสู่กันฟังว่า “กาแฟ☕️” มันไปเกี่ยวกับข้องกับ “ความคิดสร้างสรร💡” ได้ยังไง?



Cafeine & Creativity


จากประวัติศาสตร์ที่เล่ามา แน่นอนว่าต้องมีนักวิจัยตั้งข้อสงสัยแน่นอน และเมื่อเหล่านักวิทย์สงสัย งานวิจัยจึงเกิดขึ้น... ข้อสันนิษฐานแรกของนักวิจัยก็คือ ใช่ “คาเฟอีน” รึเปล่าที่ทำให้วิธีคิดเราเปลี่ยนไป? วิธีทดลองก็คือ แบ่งคนออกเป็นสองกลุ่ม กลุ่มแรกให้กินคาเฟอีน💊 อีกกลุ่มให้กินยาหลอก (Placebo) โดยที่ไม่ได้บอกทั้งสองกลุ่มว่า ยาเม็ดที่ให้กินนั่นคืออะไร


หลังจากให้กินยาแล้ว ก็ให้คนทั้งสองกลุ่มทำบททดสอบที่เอาไว้วัด “ความยืดหยุ่นทางความคิด(Thinking Flexibility)” ซึ่งเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้เกิดความคิดสร้างสรร ผลปรากฏว่า กลุ่มที่ได้คาเฟอีนไปทำคะแนนได้สูงกว่ากลุ่มยาหลอกอย่างมีนัยยะสำคัญ ทั้ง ๆ ที่ไม่รู้ว่าที่ตัวเองกินไปคือคาเฟอีน


สรุปได้ว่า คาเฟอีน “มีส่วน” ช่วยให้เกิดความคิดสร้างสรร*จริง ๆ เพราะส่งผลให้ความยืดหยุ่นทางความคิดสูงขึ้น เพิ่มความสามารถในการคิดวิธีแก้ปัญหาได้อย่างสร้างสรร ซึ่งก็สามารถอนุมานได้ว่า เครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนอย่างชา และกาแฟ ก็สามารถเพิ่มความยืดหยุ่นทางความคิดได้เช่นกัน



Sensory & Creativity


นอกจากสารเคมีที่ออกฤทธิ์ทางกับระบบประสาทโดยตรงอย่างคาเฟอีนแล้ว การกระตุ้นทางประสาทสัมผัสอื่น ๆ ก็ส่งผลต่อประสิทธิภาพทางความคิดของเราเช่นกัน ทั้งการมองเห็น👀 การได้ยินเสียง👂🏼 การสัมผัส🤚🏼 รวมถึงสิ่งที่กาแฟมีให้เราแบบเต็มที่ก็คือ กลิ่น👃🏻 และรส👅


ลองจินตนาการว่าเราต้องนั่งคิดงานบนฟุตบาทข้างถนน กลางแดดโหด ๆ☀️ ของเดือนเมษายน กลิ่นควันรถตลบอบอวล💨 กับเสียงมอเตอร์ไซค์แต่งท่อแสบแก้วหู😖 มีอเมริกาโน่เย็นที่น้ำแข็งละลายจนจืดชืดเป็นเพื่อน อย่าว่าแต่ความคิดสร้างสรรเลย ในหัวคงมีแต่คำถามว่า “ตรูมาทำอะไรอยู่ตรงนี้เนี่ย?😰”


เปรียบเทียบกับการนั่งดริปกาแฟริมทะเลสาบยามเช้า🏞 อากาศเย็นสบาย ลมพัดเบา ๆ🌬 มีเสียงนกคลอ กลิ่นกาแฟ Panama Gesha ตอนที่ดริปก็หอมหวานเหลือเกิน การค่อย ๆ จิบกาแฟ☕️ไประหว่างที่นั่งอ่านหนังสือชิล ๆ📖 ในบรรยากาศแบบนี้นี่แหละที่เป็นโมเม้นต์ “ยูเรก้า!💡” ของใครหลาย ๆ คน


หลายคนอาจเชื่อว่า ความคิด จิต ร่างกาย นั้นเป็นคนละส่วนกันจนบางครั้งวิจารณ์ประสบการณ์ของคนอื่นว่าเป็นเรื่อง “มโน” หรือ “คิดไปเอง” แต่ในความเป็นจริงคือ เราไม่สามารถแยกประสบการณ์ทางความคิด ความรู้สึก และประสาทสัมผัสออกจากกันได้เลย เพราะมันเกี่ยวเนื่องโยงกันอย่างเหนียวแน่นโดยระบบประสาทของเราเอง**



Great Conversation Starter🗣


อะไรจะเกิดขึ้นเมื่อคอกาแฟสองคน👥มาเจอกันในร้านโปรด... คำตอบคือ “การพูดคุย🗣” จะเกิดขึ้นแน่นอน สำหรับคอ Specialty อาจเริ่มต้นด้วยการคุยกันเรื่องกาแฟ☕️ สำหรับคนทั่วไปอาจเป็นเรื่องดินฟ้าอากาศ🌦 หรือข่าวสารบ้านเมือง และลามไปเรื่องอื่น ๆ เมื่อบทสนทนาดำเนินไปไป ในการพูดคุยนั้นจะทำให้เกิด “การแลกเปลี่ยนทางความคิด(Intellectual Exchange)” ขึ้น


ดังนั้นจึงไม่น่าแปลกใจที่เหล่าปัญญาชน ศิลปิน นักคิด นักเขียน มักจะมารวมตัวกันในร้านกาแฟเพื่อแลกเปลี่ยนความคิดกัน (อาจจะเป็นเพราะคุยกันตอนเมาเหล้ามันไม่ค่อยรู้เรื่องก็ได้) เพราะฤทธิ์ของคาเฟอีนที่ทำให้เกิดความยืดหยุ่นทางความคิด เราจะรับฟังข้อมูลใหม่ ๆ และนำมาประมวลผลเพื่อสร้างทางออกใหม่ ๆ ได้ดีขึ้น และถ้าไม่รู้จะคุยอะไรกัน ก็เปิดด้วยเรื่องกาแฟในแก้วตรงหน้าได้อย่างไม่เคอะเขิน


Conclusion

สรุป


เมื่อหลายร้อยปีก่อนผู้คนในจักรวรรดิออตโตมันดื่มกาแฟกันแบบไม่รีบร้อน แต่รูปแบบการบริโภคกาแฟก็เปลี่ยนไปตามชีวิตที่เร่งรีบหลังการปฏิวัติอุตสาหกรรม การมาถึงของ 3rd Wave Coffee และ Speciatly Coffee ทำให้กิจกรรมการดื่มกาแฟช้าลง และประสบการณ์การดื่มกาแฟก็กลับมาเป็นงานคราฟท์อีกครั้ง


ซึ่งผมเชื่อว่าคอกาแฟ Specialty ส่วนใหญ่ก็หลงไหลในประสบการณ์ Slow Bar ที่เนิ่นช้าแต่เต็มไปด้วยความหมาย ความ “ตั้งใจ” และ “ใส่ใจ” ของเหล่ายอดฝีมือในโลกกาแฟที่จะสร้างสรรผลงานชั้นเลิศให้พวกเราได้ดื่มด่ำกับกาแฟดี ๆ ที่หลายคนถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตที่ขาดไม่ได้ไปแล้ว


“เพราะประสบการณ์คืองานคราฟท์”




Note:

*คำว่าความคิดสร้างสรร (Creativity) มีคำจำกัดความใหญ่ ๆ อยู่สองค่าย หนึ่งคือการสร้างไอเดียใหม่ อีกอย่างคือการจัดเรียงความรู้เดิมเพื่อสร้าง Solution ใหม่ ซึ่ง(นักวิทย์)บางคนจะเชื่อว่าอีกแบบไม่เรียกว่าความคิดสร้างสรร ดังนั้นอาจจะเจอบางเปเปอร์เขียนว่า คาเฟอีนไม่ได้ส่งเสริมความคิดสร้างสรร(Creativity) แต่ช่วยส่งเสริมการคิดแก้ปัญหา (Problem Solving)


**เรื่องนี้สามารถอธิบาย และศึกษาเพิ่มเติมได้ด้วยความรู้ในฟีลด์ Neuroscience


Based on Dr.Janice Wang Talk on Sensory Summit 2021

85 views0 comments

Recent Posts

See All

Comments


bottom of page